Skip Ribbon Commands
Skip to main content
Home
June 23
"ทำ LEAN อย่างไรให้เห็นผล" - กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ การใช้ LEAN ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

LeanLogo.jpg

ที่มา :
Lean คืออะไร Lean แปลว่า ผอม เพรียว บาง ถ้าเปรียบเทียบกับคนในความหมายเชิงบวก ก็หมายถึงคนที่มีร่างกายสมส่วน ปราศจากชั้นไขมัน แข็งแรง ว่องไว กระฉับกระเฉง
ถ้าเปรียบเทียบกับองค์กรก็หมายถึงองค์กรที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเปล่าในทุกๆกระบวนการ มีความสามารถในการปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้รับผลงานได้ทันท่วงที มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง
Lean เป็น holistic & sustainable approach ที่ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างน้อยลง แต่ให้ได้ผลงานมากกว่า ผลงานที่ใกล้เคียงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
สิ่งที่ลดน้อยลง คือ ความสูญเปล่า, วงรอบเวลา, ผู้ส่งมอบ, ความคร่ำครึ, การใช้แรงคน เครื่องมือ เวลา และพื้นที่ปฏิบัติงาน
สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ ความรู้และพลังอำนาจของผู้ปฏิบัติงาน, ความยืดหยุ่นและขีดความสามารถขององค์กร, ผลิตภาพ, ความพึงพอใจของลูกค้า, ความสำเร็จในระยะยาว

แนวคิด Lean คือการเปลี่ยนจาก ความสูญเปล่า (waste) ไปสู่ คุณค่า (value)
ในมุมมองของผู้รับผลงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จบ

Lean ไม่ใช่เรื่องของการทำงานให้หนักขึ้นหรือเร็วขึ้น แต่เป็นการค้นหาความสูญเปล่า และเปลี่ยนให้เป็นคุณค่าที่ผู้รับผลงานของเราต้องการ
Lean ไม่ใช่ชุดเครื่องมือสำเร็จรูป แต่เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างแนวคิด กิจกรรม และวิธีการที่จะช่วยผลักดันให้วัฒนธรรมขององค์กรเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ผ่านการพัฒนาจิตสำนึกที่ดีและแนวคิดที่ถูกต้องในการทำงานแก่พนักงานทุกระดับ

ความพิเศษของ Lean  ทำไม Lean จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในองค์กรต่างๆ
1. Lean is proven หลักการและเทคนิคของ Lean ได้รับการนำไปใช้และประสบความสำเร็จในองค์กรทุกภาคส่วน ทุกประเภท ทุกขนาด นับเป็นพันๆแห่ง
2. Lean makes sense ในยุคสมัยแห่งความซับซ้อน Lean ใช้ความเรียบง่ายในการตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆทุกประเภท ทุกสถานการณ์
3. Lean is accessible ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หากมีความมุ่งมั่น ไม่ยาก ไม่แยกส่วน ไม่แพง
4. Lean is inclusive แนวคิด Lean เปิดรับการใช้เครื่องมือและเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่จำกัด เป็นสิ่งที่เสริมกันกับ TQM, Six Sigma, BPM ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้
5. Lean is for everyone ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ไม่ยาก

วัตถุประสงค์ :  เพื่อลดความสูญเปล่า/สูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงาน

 

การดำเนินงาน :

1. จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยสร้างพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง LEAN ให้แก่หน่วยงาน ในงานบริหารทั่วไป KM_Lean.pdfKM_Lean.pdf

2. อบรมให้ความรู้เรื่อง LEAN และการประยุกต์ใช้ในงาน (สัมมนางานบริหารทั่วไป ครั้งที่ 2/2556) การพัฒนางานโดยแนวคิดแบบลีน.pdfการพัฒนางานโดยแนวคิดแบบลีน.pdf

3. จัดกิจกรรมกลุ่มย่อย เพื่อคัดเลือกกระบวนการในงานประจำ ทีจะใช้การบริหารจัดการแบบ LEAN กระบวนการทำลีน_งานบริหาร.pdfกระบวนการทำลีน_งานบริหาร.pdf 

4. บรรจุโครงการ/กิจกรรมการดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพงาน โดยการบริหารจัดการแบบ LEAN ในแผนปฏิบัติการ ปี 2557 งานบริหารทั่วไป

5. ดำเนินการบริหารจัดการแบบ LEAN

5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ในการใช้กระบวนการบริหารจัดการแบบ LEAN ให้แก่ทุกหน่วยงานในสำนักงานคณะ

6. ทุกสายงานในสำนักงานคณะ คัดเลือกกระบวนการในงานประจำ และนำหลักการบริหารจัดการแบบ LEAN ไปประยุกต์ใช้ทั่วทั้งสำนักงานคณะ  

ผลการดำเนินงาน : อยู่ระหว่างการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557-2558

สื่อประกอบการเรียนรู้เรื่อง LEAN & KEIZEN

Cartoon_LeanTransformation.mp4Cartoon_LeanTransformation.mp4

lean and 7 wastes.pdflean and 7 wastes.pdf

June 23
“การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการของสาขาวิชา” – กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการประสานงานระหว่างงานบริการการศึกษา และเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชา เพื่อการบริหารโครงการของสาขาวิชา

km07_01.jpg
ที่มา : 
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการดำเนินงานในระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 12 สาขาวิชา แบ่งเป็นระดับปริญญาโท 10 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 2 สาขาวิชา ในแต่ละสาขาวิชามีการจัดโครงการตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามพันธกิจของคณะฯ  ซึ่งในการจัดโครงการของสาขาวิชาดังกล่าว เป็นการปฎิบัติงานและการติดต่อประสานงานร่วมกันระหว่างประธานสาขาวิชาฯ เจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิชาฯ และเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชาฯ ซึ่งประกอบด้วย 8 กลุ่มวิชา  ที่ผ่านมาการจัดโครงการของสาขาวิชาแต่ละสาขาวิชามีความแตกต่างกันในขั้นตอนการดำเนินงาน  และยังไม่มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนระหว่างเจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิชาฯ และเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชาฯ ซึ่งส่งผลให้การจัดโครงการเกิดข้อผิดพลาด รวมถึงเกิดความยุ่งยากในการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ จากปัญหาดังกล่าวจึงเห็นว่าควรมีการหารือร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค แลกเปลี่ยนแนวทางการทำงาน และเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน และให้การบริหารโครงการของสาขาวิชามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

วัตถุประสงค์ :
  1. เพื่อหาแนวปฏิบัติในการดำเนินงานการจัดโครงการของสาขาวิชาฯ
  2. เพื่อกำหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานการจัดโครงการของสาขาวิชาฯ
  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการของสาขาวิชาฯ

การดำเนินงาน :

  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับงานนโยบายและแผนในกระบวนการเสนอโครงการในภาพรวมของทั้งองค์กร
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชาฯในขั้นตอนการจัดโครงการ
  3. จัดทำแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานการจัดโครงการ
  4. เสนอที่ประชุมหัวหน้างานหัวหน้าหน่วยพิจารณา
  5. ปรับแก้ไขแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานการจัดโครงการ
  6. แจ้งเวียนแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานการจัดโครงการเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชาฯรับทราบ
  7. เสนอที่ประชุมผู้บริหารรับทราบ
  8. ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด

km7_02.png
จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารโครงการในภาพรวมของทั้งองค์กร และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชาฯ ในหัวข้อการจัดโครงการของสาขาวิชาระหว่างเจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิชา และเจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชา สามารถกำหนดแผนผังขั้นตอนการจัดโครงการของสาขาวิชา ได้ดังนี้

1. การดำเนินงานด้านารวิเคราะห์ข้อสอบ KM7_1.pdfKM7_1.pdf

2. การประเมินกระบวนวิชาออนไลน์/การประเมินอาจารย์ออนไลน์ KM7_2.pdfKM7_2.pdf 

3. การจัดโครงการประชุม/อบรม/สัมมนาของสาขาวิชาKM7_3.pdfKM7_3.pdf

4. การส่งเอกสารประกอบการสอน KM7_4.pdfKM7_4.pdf

km7_03.jpg
จากแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานจัดโครงการของสาขาวิชาที่ได้กำหนดร่วมกัน จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ การกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะฯแล้ว จะได้มีการนำขั้นตอนดังกล่าวไปเริ่มปฏิบัติ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป โดยปฏิบัติในสาขาวิชาระดับปริญญาโท หลักสูตรปกติ และจะมีการติดตามผลของการนำไปปฏิบัติ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป หากพบปัญหาในการดำเนินงาน

 

June 18
“เส้นทางการพัฒนาบุคลากร”– เรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์คณะ

HRDroadmap.jpg


ที่มา : องค์กรใดก็ตามจะเจริญก้าวหน้าได้ ขึ้นกับคุณภาพของบุคลากรในองค์กรนั้นๆ ดังนั้นการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจึงมีความสำคัญเป็นอย่าง สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้คณะพยาบาลศาสตร์ มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกิจของคณะในทุกๆด้าน ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน จึงเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ที่จะต้องมีทิศทางและมีความชัดเจนในการพัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวและได้มีการกำหนดเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้เป็นประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีของคณะพยาบาลศาสตร์  การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่มีความชัดเจน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ การดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความต่อเนื่อง มีแนวทาง-หลักสูตร-หัวข้อ-เป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน จะส่งผลทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าในตัวบุคลากรแต่ละคน และบุคลากรยังสามารถนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับการพัฒนาแล้ว มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้ตรงตามเป้าประสงค์ และเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ด้วยกันทั้ง ตัวบุคลากรเอง และหน่วยงาน/องค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรระดับงาน-หน่วยงาน และเส้นทางการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะ
  2. เพื่อให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่ปฏิบัติงาน

 hrroad1.jpg
     hrroad2.jpg
    hrroad3.jpg

ผลการดำเนินงาน :

  • หน่วยงาน มีแผนพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์ ระดับหน่วยงาน (แผน 3 ปี 2557-2559)
  • บุคลากรในสังกัด มีแผนพัฒนาบุคลากรระดับบุคคล ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์ ระดับหน่วยงาน

 

hrroad4.jpg
 

 

June 18
“ขออย่างไรให้ได้อัตรา” สรุปสาระจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการในการขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ

title3.jpg

ที่มา :

สถานการณ์อัตรากำลังของบุคลากรในสังกัดสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) พบว่า มีบุคลากรที่จะเกษียณอายุราชการรวมทั้งสิ้น 22 อัตรา จากจำนวนบุคลากรในสังกัดสำนักงานคณะฯ ทั้งสิ้น 129 อัตรา (ไม่นับรวมอัตราเลขานุการคณะ และอัตรานักวิจัย) คิดเป็นร้อยละ 17.05 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขอัตราเกษียณดังกล่าว จะพบว่าสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ จะประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทุกด้านของคณะพยาบาลศาสตร์  จึงมีความจำเป็นที่สายงานต่างๆ ในสำนักงานคณะฯ ต้องรับทราบสถานการณ์ดังกล่าว และร่วมกันเตรียมดำเนินการในการจัดทำคำขอรับการจัดสรรอัตรากำลัง พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ เพื่อทดแทนอัตราเกษียณ โดยดำเนินการวิเคราะห์ภาระงานในภาพรวม เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัย (สายปฏิบัติการ) ประจำปีงบประมาณ นั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาจะมีช่วงเวลาที่หน่วยงานประสบปัญหาขาดอัตรากำลังเนื่องจากมีผู้เกษียณอายุราชการไปเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี จึงจะได้รับการจัดสรรอัตรากำลังทดแทนให้
จากเหตุผลความจำเป็นข้างต้น ทุกสายงานในสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ จะต้องมีการดำเนินการจัดเตรียมข้อมูล วิเคราะห์ จัดทำรายงาน และเนื้อหาในเอกสารประกอบการขอรับการจัดสรรอัตรา ตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งแบบฟอร์มดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้เฉพาะประเด็นหัวข้อหลัก ไม่ได้มีการระบุคำแนะนำที่เป็นรายละเอียดของเนื้อหา หน่วยงานที่ขอรับการจัดสรรอัตราจะต้องไปทำความเข้าใจ วางแนวทางในการนำเสนอข้อมูล เหตุผลความจำเป็นต่างๆ เอง สำหรับสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ผ่านมาแต่ละสายงานจะไปดำเนินการเองตามแบบฟอร์ม และจัดส่งให้งานนโยบายและแผนดำเนินการรวบรวม เสนอต่อมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดความยากลำบากที่แต่ละงานจะดำเนินการ รวมถึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของการรายงานข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้องสอดคล้องกัน และใช้เวลามากในการจัดทำ สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ จึงเห็นควรให้ทุกสายงานมาเรียนรู้ร่วมกันในการเตรียมการ เตรียมข้อมูล จัดทำรายงานวิเคราะห์ และการจัดทำเอกสารเหตุผลความจำเป็นประกอบ ให้มีความเป็นมาตรฐาน มีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน เห็นถึงความเชื่อมโยงและความสำคัญของอัตราที่ขอรับการจัดสรรกับการดำเนินงานสนับสนุนภารกิจต่างๆตามแผนยุทธศาสตร์ของส่วนงาน โดยใช้ตัวอย่างการจัดทำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลัง ที่งานบริหารทั่วไป จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 มาปรับปรุง กำหนดแนวทาง จัดทำเป็นแบบมาตรฐาน และกำหนดข้อแนะนำ เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังในปีงบประมาณต่อๆไป

การดำเนินงาน :

  1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เลขานุการคณะ และหัวหน้างาน) สถานการณ์และความต้องการอัตรากำลังของแต่ละสายงาน เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 56 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะ 
  2. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เลขานุการคณะ และหัวหน้างาน) กำหนดแนวทาง และการจัดทำข้อมูลประกอบการขออัตรากำลัง เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 56 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะ 
  3. สรุปสาระจากกิจกรรมดังกล่าว จัดทำเอกสารประกอบการเสนอขอรับการจัดสรรอัตราฯ และเอกสารสรุปแนวทางการจัดทำคำขอรับการจัดสรรอัตรากำลัง ไว้เพื่อใช้ในปีงบประมาณต่อๆไป

ผลการดำเนินงาน :

  1. ทุกสายงานในสำนักงานคณะ รับทราบร่วมกันถึงสถานการณ์อัตรากำลังของคณะ และของสำนักงานคณะ
  2. ได้แนวทางการจัดทำข้อมูล และเอกสารประกอบการขอรับการจัดสรรอัตรากำลัง
  3. ได้ลำดับขั้นตอนการขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัย สายปฏิบัติการ

hrmhrd.jpg  คู่มือการจัดทำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลัง.pdfคู่มือการจัดทำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลัง.pdf

June 18
“จากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ”– ถอดบทเรียนกระบวนการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ระดับคณะไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน

ที่มา คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 11 และมีการถ่ายทอดแผนฯดังกล่าวไปสู่หน่วยงานภายใต้โครงสร้างการบริหารของคณะฯ ได้แก่ สำนักวิชา ศูนย์บริการพยาบาล ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางการพยาบาล และสำนักงานคณะฯ โดยกำหนดหน่วยงานภายในให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามตัวชี้วัดในแผนฯ จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภายในต่างๆ รวมถึง งานบริหารทั่วไป ที่จะต้องทำการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ของคณะ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปยังบุคลากรทุกระดับ ทุกหน่วยงานภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของงานนั้นๆ  ในขณะเดียวกันต้องสร้างความรู้ความเข้าใจภาพรวมยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดของคณะ กลยุทธ์และตัวชี้วัดที่งาน-หน่วย-บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้งาน-หน่วย-บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของงาน-หน่วย และจัดทำโครงการ/กิจกรรม ที่สอดคล้อง สนับสนุน และขับเคลื่อนกลยุทธ์ ตัวชี้วัด ที่หน่วยงานของตนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการประสานงาน สร้างความร่วมมือร่วมใจ ร่วมเรียนรู้ตามแบบอย่างวัฒนธรรมองค์กรของคณะพยาบาลศาสตร์  

  
วัตถุประสงค์ :
  1. เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสื่อสาร-ถ่ายทอด-สร้างความเข้าใจ แผนยุทธศาสตร์ของคณะพยาบาลศาสตร์
  2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับ เกิดความเข้าใจในแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เห็นถึงความเชื่อมโยง และความเกี่ยวข้องกันของกลยุทธ์ ตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ กับโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของงานบริหารทั่วไป
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ในงานบริหารทั่วไป เห็นถึงความสำคัญของตน และการมีส่วนร่วมสนับสนุน ขับเคลื่อนองค์กร ผ่านการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะ
  4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ความสำคัญของการประสานงาน ความร่วมมือร่วมใจ และการทำงานเป็นทีม ตามแบบอย่างวัฒนธรรมองค์กรของคณะพยาบาลศาสตร์  
ผลการดำเนินงาน
  1. งานบริหารทั่วไป และหน่วยงานภายใต้งานบริหาร มีแนวทางในการเผยแพร่ ถ่ายทอดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดของคณะฯ ให้แก่บุคลากรทุกระดับในงานบริหารทั่วไป รับทราบ และเกิดความเข้าใจร่วมกัน
  2. แผนปฏิบัติการ (Action Plan) งานบริหารทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2556 มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการของคณะฯ อย่างชัดเจน
  3. หน่วยงานภายใต้งานบริหารทั่วไป มีแผนปฏิบัติงานประจำปี และมีปฎิทินปฏิบัติงานตามขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ งานบริหารทั่วไป และแผนปฏิบัติการ ของคณะพยาบาลศาสตร์
 2014-06-18 10 03 50.jpg

 

June 18
“เรียนรู้จัดการความรู้”– กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการความรู้และพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของคณะ มีการแบ่งงานในสำนักงานคณะฯ เป็น 5 งาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป  งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา  งานบริหารการวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา งานการเงิน การคลังและพัสดุ  มีหน้าที่รับผิดชอบและดำเนินงานสนับสนุนการบริหารจัดการตามพันธกิจของคณะในทุกด้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ได้กำหนดเป้าประสงค์ให้บุคลากรมีความรู้ในการพัฒนาคณะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีความสุขในการปฏิบัติงาน  สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ จึงต้องมีการกระบวนการจัดการความรู้ในสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ การสร้างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ รวมถึงการพัฒนาระบบและเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว ทั้งเพื่อให้คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาสู่ระดับสากล

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในสำนักงานคณะฯ ในการดำเนินการจัดการความรู้และพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  2. เพื่อเสริมสร้าง และปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรของคณะพยาบาลศาสตร์ ให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพให้บรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ โดยการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม มีความสามัคคี เสียสละ รับผิดชอบ และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
 2014-06-18 09 40 34.jpg

  

 

 

ผลการดำเนินงาน

  1. บุคลากรในสำนักงานคณะฯ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในการกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะฯ ที่สอดคล้องตาม โครงการพัฒนาส่วนราชการ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ในส่วนราชการ โดย สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
  2. สำนักงานคณะฯ ได้กำหนดขอบเขตการจัดการความรู้ (KM Focus Area) ที่สอดคล้องและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เป็น 
    Area 1 องค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่มีผลกระทบต่อหลายหน่วยงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ    
    Area 2 องค์ความรู้ที่มีการใช้งานประจำที่สำคัญ และมีการใช้ร่วมกันหลายหน่วยงาน
    Area 3 องค์ความรู้ที่ตอบสนองและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะ 
  3. ได้กำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ในแต่ละ Area  จัดทำแผนดำเนินการ และได้ดำเนินกระบวนการจัดการความรู้ในแต่ละ Area ตามที่ได้กำหนด
  4. มีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการจัดการความรู้ในแต่ละ Area และมีการเผยแพร่นำเสนอผ่านทางเว็บท่าสำนักงานคณะ และจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่
 
June 16
แผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน พ.ศ.2555-2559 (KM Focus Area 1)

 

 HR_Plan.jpg
 

 

แผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน พ.ศ.2555-2559 สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามโครงการจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสุนทรียสนทนา และกระบวนการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำขึ้นเป็นแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ทั้งนี้ในการดำเนินการจัดทำ ได้พิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะฯ  กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานของส่วนงาน แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 11 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยให้มีความสอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับต่างๆ ในการบริหารบุคคล ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แผนบริหารและพัฒนาHRเต็มเล่ม.pdfแผนบริหารและพัฒนาHRเต็มเล่ม.pdf

June 16
การบริหารโครงการ (KM Focus Area 1)
2014-06-16 08 35 55.jpg

 

 

 

สำนักงานคณะ โดยงานนโยบายและแผน และการประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสำนักงานคณะ เจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มวิชา เจ้าหน้าที่ประสานงานกลุ่มสาขา และเจ้าหน้าที่สำนักวิชา เพื่อร่วมกันระดมสมอง แนวคิด ข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการบริหารโครงการ โดยจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว ได้ข้อสรุปและแนวปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ ลดความซ้ำซ้อน และขั้นตอนในการปฏิบัติ ซึ่งงานนโยบายและแผนฯ ได้ดำเนินการสรุป และจัดทำเป็นคู่มือการบริหารโครงการขึ้น ใช้เป็นแนวทางในการบริหารโครงการต่อไป

ขั้นตอนการจัดทำโครงการ.pdfขั้นตอนการจัดทำโครงการ.pdf​​

คู่มือการบริหารโครงการ.pdfคู่มือการบริหารโครงการ.pdf

June 04
การรับมือภัยภิบัติต่างๆ (อัคคีภัย น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฯลฯ)

​สืบเนื่องจากการที่คณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีการจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดยกำหนดให้ประเด็น "การเกิดอัคคีภัย และการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม" เป็นประเด็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในองค์กร ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระบบกายภาพ และความปลอดภัย

ระบบเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ำท่วม​

คู่มือป้องกันและระงับอัคคีภัย

อัคคีภัย.pdfอัคคีภัย.pdf

คู่มือคนไทยเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

รับมือภัยพิบัติ.pdfรับมือภัยพิบัติ.pdf

คู่มือรับมือน้ำท่วม.pdfคู่มือรับมือน้ำท่วม.pdf

December 11
การลดใช้พลังงาน คณะพยาบาลศาสตร์

      ภายใต้วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน องค์กร/หน่วยงานต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ต่างตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาโดยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเป้าหมายลดการใช้พลังงานลง ในส่วนของคณะพยาบาลศาสตร์ของเรา ปัจจุบันต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าสาธารณูปโภค และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นงบประมาณจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา คณะฯเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 5 ล้านบาท คิดเป็น 16.7% ของเงินรายได้ของคณะ

      ท่านคิดว่า ภายใต้วิกฤติการณ์ดังกล่าว เราจะมีส่วนช่วยคณะฯ ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงาน ได้อย่างไร??

เอกสารลดใช้พลังงาน

manual55.pdfmanual55.pdf

108วิธีประหยัดพลังงาน.pdf108วิธีประหยัดพลังงาน.pdf

energy.png
  

 

 

 



1 - 10Next