Skip Ribbon Commands
Skip to main content
KM งานบริหารทั่วไป > Posts > “เรียนรู้จัดการความรู้”– กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการความรู้และพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

Posts

 
June 18
“เรียนรู้จัดการความรู้”– กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการความรู้และพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของคณะ มีการแบ่งงานในสำนักงานคณะฯ เป็น 5 งาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป  งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา  งานบริหารการวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา งานการเงิน การคลังและพัสดุ  มีหน้าที่รับผิดชอบและดำเนินงานสนับสนุนการบริหารจัดการตามพันธกิจของคณะในทุกด้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ได้กำหนดเป้าประสงค์ให้บุคลากรมีความรู้ในการพัฒนาคณะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีความสุขในการปฏิบัติงาน  สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ จึงต้องมีการกระบวนการจัดการความรู้ในสำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ การสร้างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ รวมถึงการพัฒนาระบบและเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว ทั้งเพื่อให้คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาสู่ระดับสากล

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในสำนักงานคณะฯ ในการดำเนินการจัดการความรู้และพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  2. เพื่อเสริมสร้าง และปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรของคณะพยาบาลศาสตร์ ให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพให้บรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ โดยการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม มีความสามัคคี เสียสละ รับผิดชอบ และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
 2014-06-18 09 40 34.jpg

  

 

 

ผลการดำเนินงาน

  1. บุคลากรในสำนักงานคณะฯ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในการกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะฯ ที่สอดคล้องตาม โครงการพัฒนาส่วนราชการ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ในส่วนราชการ โดย สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
  2. สำนักงานคณะฯ ได้กำหนดขอบเขตการจัดการความรู้ (KM Focus Area) ที่สอดคล้องและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เป็น 
    Area 1 องค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่มีผลกระทบต่อหลายหน่วยงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ    
    Area 2 องค์ความรู้ที่มีการใช้งานประจำที่สำคัญ และมีการใช้ร่วมกันหลายหน่วยงาน
    Area 3 องค์ความรู้ที่ตอบสนองและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะ 
  3. ได้กำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ในแต่ละ Area  จัดทำแผนดำเนินการ และได้ดำเนินกระบวนการจัดการความรู้ในแต่ละ Area ตามที่ได้กำหนด
  4. มีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการจัดการความรู้ในแต่ละ Area และมีการเผยแพร่นำเสนอผ่านทางเว็บท่าสำนักงานคณะ และจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่
 

Comments

There are no comments for this post.