Skip Ribbon Commands
Skip to main content
​​​​​​​​
 
​​​​​​​​​                  

Image 2.png             ศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล
        (Center of Excellence in Nursing)​​​​​

0847.jpg


                                                                                                                                                  

  รศ.ดร. จุฑามาศ โชติบาง

                                 

เมื่อปี พ.ศ.2515 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีภารกิจในการผลิตบุคลากร การทำวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2546 ได้เริ่มจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ศูนย์เฉพาะทาง ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเอชไอวีและเอดส์ ด้านการศึกษาพยาบาลและด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ ต่อมาในปี พ.ศ.2551 คณะพยาบาลศาสตร์ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล และศูนย์บริการพยาบาล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งกิจกรรมทางวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาฐานข้อมูลทางวิชาการพยาบาลในด้านต่างๆ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่เชี่ยวชาญในการดูแลกลุ่มเป้าหมายโดยทำงานร่วมกันในสหสาขาวิชาการและอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กร/สถาบันที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะทางเพิ่มอีกศูนย์ ได้แก่ ศูนย์นโยบายและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ในปี 2556 ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะทางเพิ่มอีก 4 ศูนย์ และในปี 2559 จัดตั้งศูนย์เฉพาะทางเพิ่มอีก 1 ศูนย์ ปัจจุบันรวมเป็น 9 ศูนย์เฉพาะทาง 

ปัจจุบันศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์คณะพยาบาลศาสตร์โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันชั้นนำระดับสากลด้านการศึกษาและการวิจัย (โดยตั้งเป้าหมายเป็นสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลใน 100 อันดับแรกของโลกภายในปี2564) ซึ่งศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนรับผิดชอบในขับเคลื่อนทั้งงานวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ งานรับใช้สังคมที่สอดรับกับงานด้านการจัดการเรียนการสอน โดยมีวิสัยทัศน์ 1) พัฒนากลุ่มวิจัยที่เข้มแข็งและมีการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงตั้งแต่ระดับนักศึกษาถึงระดับนักวิจัยอาวุโส 2) พัฒนานักวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความสามารถในระดับนักวิจัยอาวุโส   3) พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยระดับชาติและนานาชาติ และ 4) พัฒนางานที่บูรณาการ การวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ/บริการชุมชน และการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน 

การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลประกอบด้วยคณะกรรมการสอง ชุด ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล และคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล  คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล ประกอบด้วย ที่ปรึกษา จำนวน 2 คน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธาน กรรมการ ได้แก่ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยมี หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของศูนย์ฯ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พิจารณารับรองรายงานประจำปี และรายงานการเงินของศูนย์ฯ  และพิจารณาอำนาจและหน้าที่และการจัดระเบียบบริหารงานในศูนย์ฯ โดยมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  ส่วนคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล ศาสตราจารย์เป็นประธานกรรมการและประธานศูนย์เฉพาะทางแต่ละศูนย์เป็นกรรมการ โดยหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศฯ คัดเลือก อาจารย์ในศูนย์พาะทางสองท่านเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์ความเป็นเลิศฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง  

​    Image 5.png
Image 6.png 
Image 7.png 
        ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลมีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะทางเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ และงานรับใช้สังคม ทีสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนททางการพยาบาล เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต จำนวน 10 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์นโยบายและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพยาบาลและนวัตกรรม ศูนย์พัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านการดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนางานวิจัยด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทางการผดุงครรภ์ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านการดูแลจิตเวช และสุขภาพจิต และศูนย์พัฒนาระบบและกลไกการดูแลเด็กและวัยรุ่น แม้ว่าแต่ละศูนย์เฉพาะทาง ได้ดำเนินการโดยเป็นเอกเทศและมีการหาแหล่งทุนภายนอกมาสนับสนุนการทำงาน  อย่างไรก็ตามเนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีนโยบายที่จะให้การดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลของคณะเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีการรวมพลังในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการและงานรับใช้สังคม ที่สอดรับกับการจัดการเรียนการสอน  และวางแผนที่จะพัฒนาศูนย์เฉพาะทางให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ ของศูนย์ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     การบริหารของศูนย์เฉพาะทางนั้น มีคณะกรรมการศูนย์เฉพาะทางที่ประกอบด้วยคณาจารย์นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นเดียวกันมารวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ และงานรับใช้สังคม ที่สอดรับกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแต่ละศูนย์เฉพาะทางจะมีการจัดทำผังพิสัยงานวิจัยและแผนปฏิบัติการเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์เฉพาะทางคณะกรรมการนี้มีบทบาทหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารงานของศูนย์ฯ ให้เป็นไปตามระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้องจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติงาน ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของศูนย์ฯต่อคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ฯแต่ละศูนย์เฉพาะทางได้แสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกสถาบัน ทั้งนี้นักวิจัยของแต่ละศูนย์เฉพาะทางมีงานวิจัยที่เป็นเครือข่ายวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบันและเครือข่ายวิจัยต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก เช่น China Medical Board, USA. Harvard AIDS Institute, USA.   สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนเครือข่ายวิจัยนานาชาติ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน และเขตปกครองพิเศษมาเก๊า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในส่วนภารกิจด้านบริการวิชาการศูนย์เฉพาะทางมีการจัดประชุมวิชาการและอบรมทั้งบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้บริหารการพยาบาล พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการดูแลสุขภาพเช่นอาสาสมัครประจำหมูบ้านและแกนนำสุขภาพโดยมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการพยาบาลประชาชนกลุ่มเป้าหมายในประเด็นสุขภาพต่างๆ อาทิเช่น เด็กและเยาวชน สตรีในวัยเจริญพันธุ์ ผู้ทำงานทั้งภาคในระบบและภาคนอกระบบ ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุ และผู้ทีมีปัญหาสุขภาพจิตเวช โดยได้มีการบูรณาการกับการวิจัย นวัตกรรม งานรับใช้สังคมกับการจัดประสบการณ์การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาปริญญาโทและนักศึกษาปริญญาเอกที่มีการใช้ผลงานวิจัยเพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้นการบูรณาการงานวิจัยกับการบริการวิชา การโดยการให้บริการวิชาการควบคู่ไปกับการวิจัยด้วย เช่น การจัดตั้งโครงการอบรมเด็กปฐมวัย โครงการอบรมแกนนำด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ในสตรีวัยทำงาน แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ โครงการเตรียมมารดาเพื่อการคลอด การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นต้น

       ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาพยาบาลและนวัตกรรม  เป็นศูนย์เฉพาะทางที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลให้มีคุณภาพในระดับสากลโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการเป็นบัณฑิตแห่งศตวรรษที่21พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนทางการพยาบาล และจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนให้แก่คณาจารย์ ซึ่งในแต่ละปีได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการ​

Image 8.png             ศูนย์นโยบายและผลลัพธ์ทางการพยาบาล เป็นศูนย์เฉพาะทางที่จัดตั้งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก China Medical Board ในระยะเริ่มต้น เพื่อดำเนินการวิจัยด้านนโยบายและนำเสนอผลต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดทำและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ให้ความรู้และกระตุ้นให้พยาบาลมีบทบาทเชิงนโยบายในองค์กรในระดับต่างๆ และให้คำปรึกษาแก่พยาบาลในด้านนโยบาย สนับสนุนและดำเนินการวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อคุณภาพการพยาบาล เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพยาบาลในระดับประเทศและนานาชาติ​

 
Image 9.png              ศูนย์พัฒนาระบบสุขภาพชุมชน  ได้พัฒนารูปแบบและระบบกลไกในระบบบริการของสถานบริการในระดับปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในระดับครอบครัวและชุมชน พัฒนาศักยภาพบุคคลและภาคีเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นระดับอำเภอ/จังหวัดและภาคีเครือข่ายด้านวิชาการให้สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชน และสร้างกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนระหว่างภาคีเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น​
Image 10.png            ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานภาคเหนือ เป็นศูนย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวิจัยด้านสุขภาพและความปลอดภัยคนทำงานเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางการพยาบาล อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นศูนย์ความรู้และถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ควบคุมและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานรวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในเขตพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ที่พึ่งพาตนเองได้ มีความยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของสังคมด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยคนทำงาน ถ่ายทอดความรู้ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง (จีน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ในอนาคต​
 
Image 11.png

ศูนย์พัฒนาระบบและกลไกการดูแลเด็กและวัยรุ่น เป็นศูนย์ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่นทั้งในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง และเจ็บป่วย โดยการ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างพยาบาล บุคลากรสุขภาพ นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับชุมชนครอบครัว โรงเรียน สถาบันศาสนา สถานบริการพยาบาล และภาคีในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรเอกชน ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กและวัยรุ่น  เพื่อให้บริการวิชาการและบริการสุขภาพแก่ชุมชนที่มุ้งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและวัยรุ่นอย่างยั่งยืน โดยอบรมพัฒนาศักยภาพแก่คณะทำงาน และเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ Iรวมทั้งการจัดการความรู้เรื่องการดูแลเด็กและวัยรุ่นทั้งในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง และเจ็บป่วย และจัดทำเฐานข้อมูลด้านสุขภาพของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

Image 12.jpg

ศูนย์วิจัยทางการผดุงครรภ์  เป็นศูนย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพหญิงระหว่างการตั้งครรภ์ ขณะคลอดและภายหลังคลอด และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านบทบาทการเป็นบิดา/มารดา รวมทั้งการวิจัยด้านสุขภาพของสตรีที่มีความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ​ 

Image 13.jpg

ศูนย์พัฒนาวิจัยด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์  เป็นศูนย์เฉพาะทางที่พัฒนางานวิจัยที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพทางเพศได้แก่สุขภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเพศและมีความเคารพต่อวิถีทางเพศที่แตกต่าง และยังรวมถึงการมีประสบการณ์ทางเพศที่ปลอดภัยและมีความพึงพอใจ ปราศจากการบังคับ การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง และสุขภาพอนามัยเจริญพันธ์ได้แก่สุขภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และปัญญาที่เป็นผลจากภาวะเจริญพันธุ์ กระบวนการและการทำหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ ให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อมซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผนครอบครัว 2) การอนามัยแม่และเด็ก 3) โรคเอดส์ 4) โรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ 5) มะเร็งระบบสืบพันธุ์ 6) การแท้งและภาวะแทรกซ้อน 7) การมีบุตรยาก 8) เพศศึกษา  9) อนามัยวัยรุ่น และ 10) ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ​

                                                                      Image 14.jpg


ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านการดูแลผู้สูงอายุ  เป็นศูนย์เฉพาะทางที่เน้นการผลิตผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุ โดยยึดตามผังพิสัยงานวิจัย (research mapping) ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางซึ่งครอบคลุมงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างปิติสุขสำหรับผู้สูงอายุภาคเหนือ​


Image 16.jpg



ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวช  เป็นอีกหนึ่งศูนย์เฉพาะทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งที่ปรึกษา เพื่อการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดูแลทางสุขภาพจิตและจิตเวช​ 

Image 19.jpg

         ศูนย์พัฒนาศักยภาพการบริการสปาเพื่อสุขภาพ

ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่มีการเจริญ เติบโตอย่างรวดเร็วตามความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจากผู้คนได้หันมาสนใจคุณค่าของการดูแลสุขภาพ ตามวิถีธรรมชาติบาบัดมากขึ้น ในภาพรวมอุตสาหกรรมสปาในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านจำนวนผู้มาใช้บริการและสถานที่ให้บริการ เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร สถานที่ และทรัพยากร ประกอบกับมีบริการสนับสนุนสุขภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ อาทิ เช่นการนวดไทย การใช้สมุนไพรไทย และมีจุดเด่นด้านอัธยาศัยและมารยาทในการให้บริการ ทำให้ธุรกิจบริการ มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีการแข่งขันสูงทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งเพิ่มศักยภาพธุรกิจของตนเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลกได้ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจให้บริการสปาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เกิดขึ้นหลายรายมีการรวมกันจัดตั้งเป็นสมาคมเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารและกำหนดรูปแบบมาตรฐานการบริการเพื่อให้สปามีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี

          ทั้งนี้องค์ประกอบที่สำคัญของสปานอกจากด้านบุคลากร แล้วด้านมาตรฐานการให้บริการก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจและผู้จัดการสปาเพื่อสุขภาพต้องเร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการในสถานประกอบการของตนเองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศได้โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ และด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่องเช่น อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม พม่า และลาว โดยในเรื่องของมาตรฐานการบริการสปาเพื่อสุขภาพ ปัจจุบันธุรกิจสปาไทยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการช่วยผลักดันให้สปาในประเทศไทยมีความพร้อมในด้านคุณภาพมาตรฐานในระดับสากลมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับการตรวจสอบมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปา เช่น มาตรฐานสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากล (Spa Grading)  มาตรฐานอัตลักษณ์ล้านนาสปา หรือการแข่งขันรางวัลต่างๆที่เกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะเป็นเครื่องช่วยการันตีให้กับธุรกิจสปาไทยได้อย่างชัดเจนอีกทั้งยังเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภครู้จักสปาเพื่อสุขภาพของประเทศไทยได้มากขึ้น โดยเฉพาะในความเชื่อมั่นเรื่องคุณภาพมาตรฐานที่ดีของการให้บริการ ดังนั้นผู้ประกอบการสปาเพื่อสุขภาพและผู้จัดการ สเพื่อสุขภาพจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการให้บริการต่างๆรวมทั้งการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานประกอบการของตน

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นองค์กรหนึ่งที่มีการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ท้องถิ่นและสังคม โดยการให้ความร่วมมือกับสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมไทยล้านาสปาจัดทำโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2549  และยังได้ก่อตั้ง “ศูนย์พัฒนาศักยภาพการบริการสปาเพื่อสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยการปรับปรุงอาคารปฏิบัติการคณะพยาบาลศาสตร์  ตำบลแม่สา   อำเภอแม่ริม   จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณบริหาร  จังหวัดแบบบูรณาการ  งบกลางประจำปีงบประมาณ 2549  เพื่อให้เป็นแหล่งฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริการสปาเพื่อสุขภาพ โดยจัดการอบรมบุคลากรด้านสปาเพื่อสุขภาพ ทั้ง Spa Manager  Spa Therapist  และ Spa Owner  มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน​ 


222.jpg333.jpg









               ดาวโหลดเอกสาร  Final COE  หนังสือที่ระลึก 60 ปี มช_23-12-2018.pdfFinal COE หนังสือที่ระลึก 60 ปี มช_23-12-2018.pdf

                       
                       
             
        
 

 รวมศูนย์.JPG
10 Poster COE.jpg

1599310266236.jpg

1599317328680.jpg



Image 1.jpg



​ศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล(Center of Excellence in Nursing)​
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
110/406 ถนนอินทวโรรส ตำบลสุเทพ​
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่​ 50200
โทรศัพท์/โทรสาร : 053-94-9137
อีเมล์ : excellencenursingcmu@gmail.com​
                           Facebook: https://www.facebook.com/coe.nursingcmu