Skip Ribbon Commands
Skip to main content

การจัดการความรู้สำนักวิชา

:

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ > การจัดการความรู้สำนักวิชา
กรกฎาคม 12
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน CMU-online, KC Moodle & A-tutor โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ สกุลพรรณ์

ผศ.สมบัติ สกุลพรรณ์ มีความเชื่อว่า ภายใต้แนวคิด Happy Learning  การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น จะทำให้ผู้เรียนเป็นสุขหากได้เรียนในสิ่งที่ต้องการ โดยเฉพาะเด็กในยุค Net Generations  ในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ได้มีการใช้ทั้ง A-Tutor ที่ทางคณะจัดให้และ KC MOODLE ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดไว้ให้  ซึ่งอาจารย์ได้ใช้ใน 3 รายวิชา รายวิชาหนึ่งที่ได้นำเสนอคือ รายวิชา ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาทางมนุษย์-สังคม ทำให้สามารถสืบค้นสื่อที่น่าสนใจได้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ใน YouTube หรือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตาม ตัวผู้สอนถือเป็นสื่อที่ดีที่สุดเพราะอาจารย์จะมีเนื้อหา มีความเชี่ยวชาญ สามารถสอนได้ และให้นักศึกษาย้อนคิด อีกทั้งยังเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียนอีกด้วย สื่อในลักษณะเช่นนี้จะสามารถเก็บรวบรวมไว้เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้โดยการผ่าน web online ทั้งในส่วนของ A-tutor หรือ KC Moodle นอกจากนี้ยังมีการใช้ social media คือ Facebook ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน มีสุนทรีย์สนทนาออนไลน์ ไว้สำหรับ chat กับผู้เรียน มีการใช้ cloud box ขนาด 20 Gb. จาก 3BB สำหรับเก็บไฟล์ต่าง ๆ ส่วนการประเมินผลให้คะแนนสอบ final มีเพียง 30% เท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตามการทำสื่อใช้เวลามาก ต้องทำที่บ้าน ทำให้ต้องซื้อ Tablet และมีอุปกรณ์เสริม เช่น ไมโครโฟน 

มิถุนายน 25
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน:การใช้ Google Application ในการจัดการเรียนการสอน

ในการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอนที่ดำเนินการในวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมานั้นทางคณะผู้จัดโครงการได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากคณาจารย์หลายท่านที่ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการแลกเปลี่ยนสนทนากันครั้งนี้ ระหว่างการอภิปรายแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า คณาจารย์หลายท่านประสบปัญหาในเรื่องของเทคนิคในการสร้างแบบเรียน หรือ ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ เช่น โปรแกรมเมอร์ โดยส่วนตัวพบว่า ยังมี Application ดีๆอีกมากที่สามารถตอบโจทย์ในกรณีเหล่านี้ได้ จึงได้นำเสนอรูปแบบของการใช้ Google Application ที่ได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริงไว้ เพื่อที่คณาจารย์และผู้ที่สนใจ อยากศึกษาและนำรูปแบบเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนวิชาที่ตนเองรับผิดชอบก็สามารถทำได้ ส่งผลให้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดเรียนการสอนและงานวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ในคณะและเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในภาพรวมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประสิทธิภาพต่อไป

รองศาสตราจารย์ดร.ปิยะนุช ชูโตและคณะ

17 พฤษภาคม 2556

มิถุนายน 20
คู่มือและแนวปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน

จากวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ต้องการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในระดับมาตรฐานสากล คณะพยาบาลศาสตร์เป็นหนึ่งในองค์กรที่ต้องตอบสนองแผนกลยุทธ์ในการผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจนั้น เล็งเห็นว่าหนึ่งในคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สอดคล้องกับสมรรถนะหลักที่จำเป็นที่สภาการพยาบาลได้ระบุไว้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากเป้าประสงค์ที่สอดคล้องกันเช่นนี้ คณะพยาบาลศาสตร์จึงจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ ตามมาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้สถาบันต้องมีการสร้างและพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในสถาบันทั้งอยู่ในตัวบุคคล และเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในสถาบันสามารถเข้าถึงได้ ทางคณะกรรมการจัดการความรู้จึงได้เลือกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนมาเป็นหัวข้อในการจัดการความรู้ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ และนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยคณาจารย์สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ดังกล่าวในวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 ทำให้ได้แนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยในชั้นเรียน รวม 7 เล่ม โดยเล่มที่ 1 เป็นภาพรวมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งผู้ที่เป็นคณาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถนำไปพัฒนาตนเองได้ รวมทั้งช่องทางที่คณะจะสามารถสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนให้เกิดขึ้น ส่วนเล่มที่ 2-7 เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย วิทยากรแต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญในการสอนรูปแบบที่แตกต่างกัน ทางคณะผู้จัดทำจึงรวบรวมไว้เป็นเอกสารสำหรับคณาจารย์ที่สนใจที่จะนำไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อยอด ส่งผลให้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดเรียนการสอนและงานวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ในคณะและเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในภาพรวมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประสิทธิภาพต่อไป

รองศาสตราจารย์ดร.ปิยะนุช ชูโตและคณะ

17 พฤษภาคม 2556​