Library and Collections
จำนวนทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. หนังสือภาษาไทย |
15,869 เล่ม |
2. หนังสือภาษาต่างประเทศ |
10,962 เล่ม |
3. วารสารภาษาไทย |
91 รายชื่อ |
4. วารสารภาษาต่างประเทศ |
87 รายชื่อ |
5. วารสารเย็บเล่ม |
4,428 เล่ม |
6. วิทยานิพนธ์ |
4,387 เล่ม |
7. รายงานการวิจัย |
596 เล่ม |
8. สิ่งพิมพ์รัฐบาล |
972 เล่ม |
9. หนังสือพิมพ์ |
5 รายชื่อ |
10. ซีดีรอม (CD-ROM) |
1,437 แผ่น |
---|
ทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด แบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ |
1. วัสดุตีพิมพ์ ( Printed Materials ) |
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ ( Non-printed Materials ) |
1. วัสดุตีพิมพ์ ( Printed Materials )
ห้องสมุด ได้พิจารณาแบ่งความเหมาะสมในการให้บริการออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
1. หนังสือ ( Books ) เป็นทรัพยากรที่มีมากที่สุดในห้องสมุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
|
1.1 หนังสือทั่วไป จัดไว้บริการที่ห้องโถงใหญ่ โดยแยกชั้นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ |
|
1.2 หนังสือสำรอง จัดบริการไว้ในห้องหนังสือสำรอง ระยะเวลาการให้ยืมออกหนังสือประเภทนี้ จะน้อยวันกว่าหนังสือทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้หนังสือหมุนเวียนอ่านได้ทั่วถึงกัน |
|
1.3 หนังสืออ้างอิง จัดบริการไว้ในห้องอ้างอิง ซึ่งห้องสมุดไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด ซึ่งหนังสือเหล่านี้ได้แก่ งานวิจัย , สิ่งพิมพ์รัฐบาล , รายงานประจำปี , สารานุกรม และพจนานุกรม
|
2. วารสาร ( Periodicals ) เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มีกำหนดเวลาออกเผยแพร่แน่นอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
|
2.1 วารสารฉบับปัจจุบัน ( Current Issue ) จัดไว้บริการบนชั้นวารสารตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อวารสาร |
|
2.2 วารสารล่วงเวลา ( Back Issue ) จัดเรียงไว้บนชั้นวารสารล่วงเวลาจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของชื่อวารสาร |
|
2.3 วารสารเย็บเล่ม ( Bound Journals ) จัดเรียงไว้ในห้องวารสารเย็บเล่มตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อ วารสาร วารสารทั้ง 3 ประเภท ห้องสมุดให้อ่านภายในห้องสมุดเท่านั้น |
3. หนังสือพิมพ์ ( Newspaper ) เป็นสิ่งพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่ห้องสมุดจัดหามาบริการผู้ใช้ห้องสมุดได้อ่านเพื่อติดตามข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ ห้องสมุดจัดบริการโดยสอดไว้กับไม้หนีบ แล้วแขวนไว้บนราวแขวนหนังสือพิมพ์ หากเป็นฉบับล่วงเวลา ห้องสมุดจะรวบรวมเป็นเดือนไว้ให้บริการ
4. จุลสาร ( Pamphlets ) เป็นสิ่งพิมพ์เล่มบาง ๆ เนื้อหาสาระมีเพียงเล่มเดียว จำนวนหน้ามีไม่มากนัก เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือและวารสาร ห้องสมุดเก็บไว้ในตู้จุลสาร เรียงตามลำดับอักษรหัวเรื่อง
5. กฤตภาค ( Clipping ) เป็นสื่อความรู้ที่ห้องสมุดรวบรวมจากการตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาผนึกลงในกระดาษ โดยระบุแหล่งที่มาของกฤตภาคไว้ใต้บทความ
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-Printed Materials)
วัสดุประเภทนี้จะบันทึกข้อมูลหรือสารนิเทศที่เป็นภาพ เสียง หรือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าตัวอักษร ส่วนใหญ่จะให้บริการที่หน่วยโสตทัศนศึกษา สำหรับห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มีให้บริการอยู่ 2 ประเภท คือแผ่นดิสก์ และซีดีรอมเพื่อการศึกษา
3.ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(E-databases) ประกอบด้วย
3.1 ฐานข้อมูลรายชื่อสื่อและสิ่งพิมพ์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการสืบค้นรายชื่อหนังสือ วารสารต่างประเทศ โสตทัศนวัสดุ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ และฐานข้อมูลเฉพาะต่างๆ ที่มีให้บริการในห้องสมุดกลาง ห้องสมุดคณะ สถาบัน ศูนย์ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยใช้บริการได้ที่ห้องสมุดทุกแห่งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยผ่านโฮมเพจสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ห้องสมุดคณะที่ http://library.cmu.ac.th หรือ http://portal.nurse.cmu.ac.th/library
และใช้ทางเลือก CMUL catalog
3.2 ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่มีให้บริการบนระบบเครือข่าย Internet ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนกว่า 40 ฐานข้อมูล ประกอบด้วย e-Journals, e-Books, e-Theses, e-Research, e-Scholar, e-Rare Book, Thai Digital Collection และ Thai Universities Union Catalog ครอบคลุมทุกสาขาวิชา โดยมีข้อมูลสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและที่เกี่ยวข้องจำนวนมากกว่า 20 ฐานข้อมูล ข้อมูลที่ได้อยู่ในรูปบรรณานุกรมสาระสังเขปและเอกสารฉบับเต็ม ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผ่านโฮมเพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ http://library.cmu.ac.th และใช้ทางเลือกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Databases) หรือที่เว็บไซต์ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ http://portal.nurse.cmu.ac.th/library ทางเลือก Article and Databases