ประวัติความเป็นมา
ภาพอาคารที่ตั้งห้องสมุด
ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 แต่เดิมเป็นห้องสมุดเล็กๆตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารเรียน 2 และได้แยกงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือตำรา และวารสารทั้งหมดออกจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อคณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรต่างๆและมีการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุด และจำนวนทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับจึงมีความจำเป็นต้องขยายเนื้อที่ในการให้บริการ และจัดเก็บทรัพยากรสารนิเทศ
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2526 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่ที่ชั้น 5 อาคารเรียนรวมเทคนิค-พยาบาลมีเนื้อที่รวมทั้งหมด 560 ตารางเมตร และได้ชื่อว่าห้องสมุด ละออ หุตางกูร โดยมีนางสาวนุชนาฏ วิทยาวุฑฒิกุลเป็นหัวหน้าหน่วยห้องสมุดคนแรก มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศประจำห้องบริการทุกห้อง เพื่อสร้างบรรยากาศทางวิชาการที่ดี เนื่องจากห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์เป็นห้องสมุดเฉพาะ ดังนั้นทรัพยากรสารนิเทศ ต่างๆ ได้แก่ หนังสือตำราและ วารสาร จึงเน้นทางการพยาบาลและสาขาที่เกี่ยวข้อง ต่อมาปี พ.ศ. 2555 คณะได้จัดทำโครงการห้องสมุดมีชีวิตและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงพื้นที่ บริเวณ ชั้น 1 และชั้น 2 อาคาร2 ให้เป็นห้องสมุดแห่งใหม่ มีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 1,100 ตารางเมตร ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยมีพื้นที่ชั้น1 Living Library มีพื้นที่นั่งอ่านและมุมต่างๆ ที่จัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการของคณะทุกระดับ เช่น พื้นที่นั่งอ่านที่แสนสบายด้วยโซฟา โต๊ะนั่งอ่านที่คัดสรรมาให้บริการในแบบที่เป็นกันเองพร้อมด้วยมุม relaxing zone เพื่อใช้พักผ่อน พูดคุยกับเพื่อน และการจัดพื้นที่สำหรับการค้นคว้าแบบกลุ่มด้วยห้องประชุมกลุ่มย่อย ห้องอ่านและค้นคว้าส่วนบุคคล มีการนำเสนอความบันเทิงด้วยภาพยนตร์และสารคดีที่มีสาระความรู้ในห้องสื่อประสม และห้องสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาต่างๆ พร้อมกับกิจกรรมการฝึกอบรมและอื่นๆ ส่วนพื้นที่ห้องสมุดชั้น 2 เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่รองรับการให้บริการแบบครบวงจร และมีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย
ปัจจุบันห้องสมุดมีหนังสือตำราจำนวน 28,058 เล่ม วารสารจำนวน 184 รายการ CD-ROM จำนวน 1,528 แผ่น Diskett จำนวน 560 แผ่นและห้องสมุดได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย จึงได้มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบเครือข่ายไร้สาย ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลต่างๆทั่วโลก โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง จำนวน 32 เครื่อง
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายของสำนักหอสมุด
วิสัยทัศน์ : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์บริการทรัพยากรการเรียนรู้ระดับแนวหน้า เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่มุ่งเน้นการวิจัย ตลอดจนมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต และดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. แสวงหา สร้างสม จัดระบบทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท
2. อนุรักษ์ บำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทตามหลักวิชาการ
3.ให้บริการทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทอย่างมีคุณภาพ และเผยแพร่องค์ความรู้ให้คุ้มค่าต่อการลงทุนและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อประชาคมในมหาวิทยาลัยและสังคมภาคเหนือ
4. พัฒนาศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ และขยายไปสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
5. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบะสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคเหนือทั้งในเชิงข้อมูลและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
6. บริการวิชาการแก่สังคม
7. การบริการจัดการที่ดีในทุกๆก้านด้วยหลักธรรมภิบาลพึ่งพาตนเองโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนการวิจัย ศูนย์ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ห้องสมุดที่มีชีวิต โดยมีทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท ซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐาน
2. เพื่อการสงวนรักษาและอนุรักษ์ (Preservation and Conservation) ทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. เพื่อให้บริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสานิเทศทุกประเภทอย่างคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งสนับสนุนการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของประชาคมในมหาวิทยาลัย สังคมภาคเหนือ และการเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย
4. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นภาคเหนือ รวมทั้งข้อมูลอนุภาคลุ่มน้ำโขงที่พร้อมให้บริการ
5. เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งในด้านข้อมูลและการมีส่วนร่วมของกิจกรรม
6. เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมสนองความต้องการของชุมชนตามบริบทของห้องสมุด
7. เพื่อให้มีระบบบริหารงานที่ทันสมัย มีความคล่องตัวโปร่งใส ตรวจสอบได้ พึ่งพาตนเอง โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการจัดการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของห้องสมุด
เนื่องจากห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาการ (Resource Center) เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ห้องสมุดจึงมีการแบ่งสายการปฏิบัติงานภายใน ตามประกาศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2541 ออกเป็น 3 หน่วยคือ
1. หน่วยบริหารและธุรการ
2. หน่วยบริการ
3. หน่วยเทคนิคห้องสมุด