Skip Ribbon Commands
Skip to main content

การจัดการความรู้ในองค์กร

:

การจัดการความรู้ในองค์กร > Posts > กระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตุลาคม 22
กระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

​การพิจารณาโครงการวิจัยของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพท์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. เพื่อศึกษาผลลัพท์การดำเนินงานด้านผู้ใช้บริการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิธีดำเนินการ

การศึกษาครั้งนี้ ใช้กรอบแนวคิดของการประเมินผลคุณภาพการดำเนินงานของโดนาบีเดียน เฉพาะด้านกระบวนการและด้านผลลัพท์ ด้านกระบวนการ หมายถึงกิจกรรมของคณะกรรมการฯในการพิจารณาโครงการวิจัย ด้านผลลัพท์ คือผลจากการที่ผู้รับบริการที่ได้รับจากการเสนอขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัย ประกอบด้วยความพึงพอใจต่อการขอรับการรับรองจริยธรรม

การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษากระบวนการและผลลัพท์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้บริหารด้านการวิจัย จำนวน 10 คน และนักวิจัยที่ยื่นขอรับการพิจารณาโครงการวิจัย จำนวน 83 คน  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวคำถามและแบบสอบถามความพึงพอใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการสรุปประมวลความคิดรวบยอด

ผลการศึกษา
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพจาก SIDCER มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการวิจัยสอดคล้องกับแนวทางจริยธรรมสากลทั้งมาตรฐานคุณค่าทางวิชาการและจริยธรรม ปฏิบัติตามวิธีดำเนินการมาตรฐาน ด้วยตระหนักในสิทธิ สวัสดิภาพของอาสาสมัคร มีการพัฒนาระบบรองรับการจัดเก็บเอกสาร จัดอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อสร้างความเข้าใจต่อนักวิจัย 
โครงการวิจัยที่ขอรับรองเชิงจริยธรรมการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ลักษณะโครงการวิจัยเป็นการพิจารณาแบบเร่งด่วน ร้อยละ 63.9 และพิจารณาในที่ประชุม ร้อยละ 36.1 ในภาพรวมนักวิจัยพึงพอใจต่อการบริการด้านจริยธรรมในระดับมาก ร้อยละ 57.8 ส่วนผลการพิจารณาพบว่าโครงการวิจัยส่วนใหญ่ต้องปรับแก้ไข ร้อยละ 96.4 แบ่งเป็นประเด็นเอกสารคำชี้แจงและคำยินยอม ร้อยละ 48.2 ระเบียบวิธีวิจัย ร้อยละ 34.9 และจริยธรรมการวิจัย ร้อยละ 20.5 
นักวิจัยให้ข้อคิดเห็นว่าการพิจารณารับรองเชิงจริยธรรมการวิจัยมีประโยชน์ในการพิทักษ์สิทธิ์อาสาสมัครและเอื้อความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย

ประโยชน์ที่ได้รับ
นำไปปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย โดยเฉพาะการจัดอบรมในประเด็นการเตรียมเอกสารเพื่อขอการรับรองเชิงจริยธรรมการวิจัย เพื่อเอื้อให้เกิดคุณค่าผลงานทางวิชาการสู่ประโยชน์ทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม


Comments

There are no comments for this post.