Skip Ribbon Commands
Skip to main content

การจัดการความรู้ในองค์กร

:

การจัดการความรู้ในองค์กร > Posts > การพัฒนาขีดความสามารถด้านการช่วยชีวิตและการช่วยเหลือเบื้องต้น
ตุลาคม 21
การพัฒนาขีดความสามารถด้านการช่วยชีวิตและการช่วยเหลือเบื้องต้น

​โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง 
การพัฒนาขีดความสามารถด้านการช่วยชีวิตและการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 – 31 กรกฎาคม 2561
ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


       ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นสาเหตุคร่าชีวิตแบบกะทันหันที่หลายคนไม่ทันเตรียมตัวรับมือ เพราะไม่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัว คนส่วนใหญ่จึงไม่เห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะนี้ ทำให้ผู้ที่ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจึงมักไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันเวลา นำไปสู่การสูญเสียที่นับวันจะยิ่งมีอัตราเพิ่มขึ้น บางคนที่ภายนอกดูแข็งแรงอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้เช่นกัน จากข้อมูลทางสถิติชี้ว่า ประเทศไทยมีประชาชนเสียชีวิตจากโรคหัวใจเฉลี่ยถึงปีละ 54,000 คน หรือเฉลี่ยเท่ากับชั่วโมงละ 6 คน ถือเป็น 1 ใน 3 สาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุด ซึ่งทุกวันนี้มีตัวอย่างการสูญเสียจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันให้เห็นกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ วัยทำงาน หรือแม้นักกีฬาก็เคยล้มฟุบกะทันหันด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาแล้วเช่นกัน  จะเห็นได้ว่า "ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน" จริงๆ แล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เข้าสู่ขั้นวิกฤติ แค่เพียงเสี้ยววินาทีของชีวิตก็อาจเกิดความสูญเสียได้ หากไม่อยากเผชิญสถานการณ์วิกฤตินี้ ทุกคนต้องตระหนักและเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือกันและกันในเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับคนที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนี้ให้มากขึ้น การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ทันเวลา จะช่วยให้พวกเขามีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่าผลการปฏิบัติช่วยคืนชีพของบุคคลทั่วไปพบว่า ผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นมีโอกาสรอดชีวิตจนสามารถส่งถึงโรงพยาบาลได้ประมาณร้อยละ 23.5 และร้อยละ 7.6 มีชีวิตรอดจนสามารถกลับบ้านได้ (Sasson, Rogers, Dahl, & Kellermann, 2010)

       คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีหน้าที่หลักในการเตรียมบุคลากรทางการพยาบาลออกไปให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน เห็นความจำเป็นในการเตรียมบุคลากรทั้งบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนให้มีความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันและอยู่ในภาวะวิกฤติดังกล่าว การที่บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติช่วยคืนชีพอย่างถูกต้อง สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติได้ทันเวลา จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของบุคคลนั้นๆจนกว่าจะสามารถเข้ารับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้ คณะพยาบาลศาสตร์ จึงเห็นสมควรจัดโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านการช่วยชีวิตและการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ นี้ขึ้น

01 BLS Algorithm Thai.pdf01 BLS Algorithm Thai.pdf

guidance for AED in workplace.pdfguidance for AED in workplace.pdf


CPR_๑๘๐๘๑๐_0090.jpg



Comments

There are no comments for this post.