Skip Ribbon Commands
Skip to main content

กลุ่มวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

:

ข่าวสารจากกลุ่มวิชา: @ รองศาสตราจารย์ ดร.ลินจง โปธิบาล ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัย ประจำปี 2556 จากสภาการพยาบาล ทั้งนี้ได้เข้ารับประทานรางวัลจากพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556

เรื่อง

@ รองศาสตราจารย์ ดร.ลินจง โปธิบาล ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัย ประจำปี 2556 จากสภาการพยาบาล ทั้งนี้ได้เข้ารับประทานรางวัลจากพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556

เนื้อหา

ll

รศ.ดร. ลินจง โปธิบาล อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลพยาบาลดีเด่นสภาการพยาบาล สาขาการวิจัยทางการพยาบาล ประจำปี 2556 โดยจะเข้ารับประทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงานวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2556 วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ อาคารราชนครินทร์ศรี สภาการพยาบาล จังหวัดนนทบุรี
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศ/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ พร้อมด้วยคุณจินตนา จั่นตอง นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ และคณะสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เดินทางมาช่วยเหลือประชาชนมอบเครื่องห่มกันหนาวและสิ่งของจำเป็นให้กับผู้ประสบ ภัยหนาวในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดศรีโสดา บ้านน้ำตกห้วยแก้ว หมู่ที่ ๒ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้นาวาอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
รศ.ดร. ลินจง โปธิบาล ปัจจุบันอายุ 59 ปีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาโทจาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาเอกจาก University of Alabama at Birmingham ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานดีเด่น โครงการวิจัยการพัฒนาศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบหนึ่งของบริการการดูแลระยะกลางที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และการเตรียมความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้สูงสุด และสามารถดูแลตนเองไม่ให้เกิดปัญหารุนแรงจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ เป็นรูปแบบที่สามารถจัดขึ้นโดยใช้สถานที่ในชุมชนโดยความร่วมมือของโรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบนี้สามารถนำไปเป็นต้นแบบบริการการดูแลระยะกลางสำหรับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิและทุติยภูมิได้
ศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงได้แก่ 1) ความต้องการของผู้รับบริการ 2) มีระบบที่สามารถประสานงานระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน 3) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญและสนับสนุนบุคคลากรและงบประมาณ ซึ่งศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จสำหรับผู้สูงอายุมีองค์ประกอบได้แก่ (1) โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ ใช้อาคารของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วนฝึกอบรม และส่วนให้บริการฟื้นฟูสภาพ และมีเตียงให้บริการ 4 เตียง (2) ผู้ให้บริการ ประกอบด้วยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการดูแลผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรค (care manger) นักกายภาพบำบัด 1 คน และนักกิจกรรมบำบัด 1 คน จากโรงพยาบาลนครพิงค์ อาสาสมัครด้านการฟื้นฟูสภาพและการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการอบรมการฟื้นฟูสภาพและการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง วันละ 2 คน และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 1 คน (3) ผู้รับบริการ เป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายระยะสุดท้าย ที่มีอาการของโรคคงที่แต่ยังไม่พร้อมสำหรับการดูแลตนเองที่บ้าน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล และ (4) การจัดบริการ ประกอบด้วย การประเมินปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพรายบุคคล การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ทั้งกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด การเตรียมความพร้อมผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล โดยการให้ความรู้และฝึกทักษะการจัดการตนเอง การส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต และบริการส่งต่อ โดยระยะเวลาการให้บริการ วันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 09.00-12.00 น. ในแต่ละวันมีผู้ป่วยสูงอายุมารับบริการประมาณ 30 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยมีผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมารับบริการร่วมด้วย
ในส่วนของการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จ พบว่าทำให้เกิดความต่อเนื่องของบริการจากโรงพยาบาลโดยเฉพาะด้านการฟื้นฟูสภาพและการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตัวเองของผู้ป่วยสูงอายุ บริการของศูนย์ครอบคลุมตามปัญหาและความต้องการของผู้มารับบริการและมีความเหมาะสมกับผู้รับบริการที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการของศูนย์ได้ง่ายไม่ต้องมีขั้นตอนในการเข้ารับบริการ ในด้านอุปกรณ์ที่จัดไว้บริการแก่ผู้ป่วยสูงอายุเป็นอุปกรณ์พื้นบ้านที่มีราคาไม่แพงที่ได้ผ่านความเห็นชอบของนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดว่าสามารถใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทางศูนย์มีอุปกรณ์เหล่านี้เพียงพอที่จะให้บริการ นอกจากนี้ศูนย์ยังมีระบบการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับศูนย์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลด้านสุขภาพของผู้รับบริการที่เป็นไปตามเป้าหมายและมีความคุ้มค่าคุ้มทุน นอกจากนี้ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จที่พัฒนาขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
ศูนย์การดูแลระยะกลางแบบเบ็ดเสร็จสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้ เป็นบริการสุขภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งสามารถขยายกลุ่มผู้รับบริการให้ครอบคลุมผู้สูงอายุโรคเรื้อรังทุกกลุ่มโรคนอกจาก 3 กลุ่มที่ศึกษาตามความต้องการและปัญหาของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้และพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น และสามารถกลับไปดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังสามารถให้บริการครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีความพิการจากสาเหตุอื่นและต้องการการฟื้นฟูสภาพที่ต่อเนื่อง
รูปแบบการบริการที่จัดให้ที่ศูนย์ นอกจากโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการดูแลตนเองใน 3 กลุ่มโรคที่ศึกษา ควรพัฒนาโปรแกรมการสอนให้ครอบคลุมโรคเรื้อรังอื่นๆ หรือเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในโรคดังกล่าวมาสอนตามความต้องการและปัญหาของแต่ละพื้นที่ สำหรับสถานที่จัดตั้งศูนย์ควรดัดแปลงใช้สถานที่ๆมีอยู่แล้วในชุมชน เช่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัย ในบริเวณพื้นที่ตั้งของเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในวัด ฯลฯ ซึ่งผู้รับบริการสามารถเดินทางไปได้สะดวก
สำหรับผู้ให้บริการในศูนย์ควรมีทั้งบุคลากรทางด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลได้แก่พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำหน้าที่หลักในการให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดทำหน้าที่หลักในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งบุคลากรในชุมชน ได้แก่ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุมาแล้ว นอกจากนั้นควรมีการสนับสนุนครอบครัวและชุมชนโดยเฉพาะอาสาสมัครฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง​

Expires

 

Attachments

Created at 15/4/2557 17:36 by ดวงฤดี ลาศุขะ
Last modified at 15/4/2557 17:47 by ดวงฤดี ลาศุขะ